บทที่ 4 พลังงานนิวเคลียร์

4.1. อนุภาคมูลฐานของอะตอม


4.1.1. สัญลักษณ์นิวเคลียร์ คือ สัญลักษณ์ที่เขียนแสดงเลขมวลและเลขอะตอม

    เลขอะตอม แสดงถึงจำนวนโปรตอนในอะตอม มีค่าเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอน
    เลขมวล แสดงถึงผลรวมของจำนวนโปรตอนกับนิวตรอน

4.2. ไอโซโทป ไอโซโทน และไอโซบาร์

1. ไอโซโทป คือ ธาตุที่มีเลขอะตอมเหมือนกัน เลขมวลต่างกัน หรือ ธาตุที่มีโปรตอนเท่า แต่ นิวตรอนต่าง
2. ไอโซโทน คือ ธาตุที่มีนิวตรอนเท่า แต่ โปรตอนต่าง
3. ไอโซบาร์ คือ ธาตุที่มีเลขมวลเท่า แต่ เลขอะตอมต่าง


4.3. ธาตุกัมมันตรังสี
    ธาุกัมมันตรังสี คือ ธาตุที่มีสมบัติในการแผ่รังสี
    กัมมันตภาพรังสี คือ ปรากฏการณ์ที่ธาตุแผ่รังสีได้อย่างต่อเนื่อง


หมายเหตุ ถ้าเปรียบเทียบอำนาจทะลุทะลวง แอลฟา บีตา แกมมา จากน้อยไปมากจะเป็น แอลฟา บีตา แกมมา



โรงไฟฟ้านิวเคลียร์  คือ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนชนิดหนึ่งใช้ความร้อนทำให้น้ำเดือดกลายเป็นไอน้ำไปหมุนกังหัน เพื่อหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทำการผลิตไฟฟ้า ความแตกต่างอยู่ที่แหล่งกำเนิดความร้อนซึ่งได้มาจากปฏิกิริยานิวเคลียร์แทนที่จะเป็นการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง น้ำมัน ถ่านหิน หรือก๊าซธรรมชาติ

เชื้อเพลิง  ใช้แร่ยูเรเนียมเป็นเชื้อเพลิงแต่ต้องผ่านกระบวนการแปลงสภาพ ให้เป็นเม็ดรูปทรงกระบอกขนาดกว้าง และสูง 1x1 เซนติเมตร บรรจุเรียงกันไว้ในแท่งแล้วมัดรวมกันไว้เป็นมัด ๆ เสียก่อน จากนั้นจึงจะนำไปใช้งานได้โดยใส่ไว้ภาชนะที่เรียกว่า เตาปฏิกรณ์เพื่อให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์และความร้อน การใส่เชื้อเพลิงอาจจะกระทำเป็นรายวันหรือปีละครั้งซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของโรงไฟฟ้า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ใช้แร่ยูเรเนียมดิบประมาณปีละ 200 ตัน (แปลงสภาพแล้วเหลือเพียง 30 ตัน) ภูมิภาคที่มีแร่ยูเรเนียมเป็นจำนวนมาก ได้แก่ อเมริกาเหนือ อัฟริกา ออสเตรเลีย และยุโรป สำหรับในเอเชียก็มีรวมทั้งโลกมีแร่ยูเรเนียมประมาณ 14 ล้านตัน ซึ่งมีมากพอที่จะใช้อีกเป็นร้อย ๆ ปี

ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย กล่าวคือ
    - ไม่มีเสียงดังเลย
    - ไม่มีเขม่า ควัน หรือก๊าซต่าง ๆ ที่จะทำให้อากาศเสีย เนื่องจากไม่มีการเผาไหม้
    - ไม่มีก๊าซที่จะทำให้เกิดฝนกรดและภาวะเรือนกระจก
    - น้ำที่ปล่อยออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ไม่มีรังสี และมีสภาพเหมือนกับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนทั่ว ๆ ไป
    - มีแผนและมีมาตรการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นตลอดเวลา

การใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ด้านอื่น
    - ด้านกำลัง พลังงานนิวเคลียร์ที่ปล่อยออกมาในรูปความร้อนสามารถนำไปใช้ในการขับเคลื่อน ยานอวกาศ เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ ผลิตกระแสไฟฟ้า และอื่น ๆ
    - ด้านอุตสาหกรรม ใช้ในการเหนี่ยวนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี ทางกายภาพและชีวภาพ ในสารตัวกลาง เช่น กำจัดจุลินทรีย์บางชนิดในอาหารและขยะ การเปลี่ยนแปลงสีของอัญมณีหรือเครื่องประดับ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้ตรวจสอบและรักษาด้านระบบควบคุมในกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
    - ด้านการเกษตรใช้ในการเปลี่ยนแปลงพันธุ์พืช ปรับปรุงและขยายพันธุ์พืช และกำจัดแมลงศัตรูพืช
    - ด้านการแพทย์ ใช้ในการตรวจรักษาและวินิจฉัยโรค เช่น การเอ๊กซเรย์ การรักษาโรคมะเร็ง เป็นต้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น